การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

จำนอง คืออะไร

1 กระทู้
1 ผู้ใช้
0 Reactions
398 เข้าชม
สี่แผ่นดิน
กระทู้: 22
Admin
หัวข้อเริ่มต้น
(@4land)
สมาชิก
เข้าร่วม: 4 ปี ที่ผ่านมา

จำนอง หมายถึง สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจำนอง เป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง จึงกล่าวได้ว่า จำนองเป็นการเอาทรัพย์สินมาประกันการชำระหนี้ในการจำนองจึงต้องมีหนี้ที่จำนองเป็น ประกัน ส่วนสัญญาจำนองเป็นการเอาทรัพย์สินมาเป็นประกันการชำระหนี้ที่จำนองเป็นประกันดังกล่าว การจำนองจึงประกอบด้วย หนี้ที่จำนองเป็นประกันอันถือว่าเป็นส่วนประธาน กับสัญญาจำนองอันถือว่า เป็นส่วนอุปกรณ์ ดังนั้น การจำนองขึ้นอยู่กับหนี้ ถ้าหนี้ระงับสิ้นไป การจำนองก็ย่อมระงับสิ้นไปด้วย

ทรัพย์สินอะไรที่สามารถจำนองได้

ทรัพยัสินที่จำนองได้ ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์บางอย่างตามที่ระบุไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา ๗๐๓ แต่ทรัพย์ที่จดทะเบียนจำนองต่อเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ เท่านั้น (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๗๑) ซึ่งได้แก่ ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการ ถาวร หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์ ที่ติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเกี่ยวกับที่ดินนั้นด้วย (ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๙) ส่วนสังหาริมทรัพย์ต้อง ไปจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดไว้

 

เอกสารสิทธิ์ที่ดินใด จำนองได้

ที่ดินที่จำนองได้ ได้แก่ ที่ดินที่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแล้ว อันได้แก่ มีโฉนดที่ดินและ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓, น.ส.๓ ก., น.ส.๓ ข. แบบหมายเลข ๓ ถ้าออกก่อนใช้ประมวล กฎหมายที่ดินต้องแจ้ง ส.ค. ๑)

 
บุคคลใดสามารถจำนองได้

ผู้ที่จะจำนองได้ต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินในขณะที่จำนองเท่านั้น (ป.พ.พ. มาตรา ๗๐๕) และ ต้องเป็นเจ้าของในขณะจำนอง เพียงแต่มีสิทธิเป็นเจ้าของในภายหน้าจะจำนองไม่ได้ เช่น ในระหว่างเช่า ซื้อ ไม่อาจเอาทรัพย์สินที่เช่าซื้อมาจำนองได้

 
ประเภทการจดทะเบียน

ประเภทการจดทะเบียนมีใช้ทั้ง “จำนอง” และ “ จำนองเป็นประกัน” ไม่ว่าจะใช้อย่างไรมี ความหมายอย่างเดียวกัน แต่สำหรับธนาคาร และสหกรณ์ หรือส่วนราชการ เป็นผู้รับจำนอง ได้ปฏิบัติเป็น ประเพณีว่า ใช้ประเภท “จำนองเป็นประกัน” นอกนั้นใช้ประเภท “จำนอง” ประเภทการจดทะเบียนได้แบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน ในที่นี้จะขอพูดถึงประเภทที่ประชาชน ได้เห็นกันเป็นส่วนใหญ่ดังนี้

 

1.จำนอง หมายถึง การจดทะเบียนจำนองที่ดินทั้งแปลงหรือสิ่งปลูกสร้างทั้งหลังหรือที่ดินทั้งแปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ไม่ว่าที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างมีเจ้าของคนเดียวหรือหลายคนผู้ที่เป็นเจ้าของทุกคนนั้น จำนองพร้อมกัน

 

2.จำนองเฉพาะส่วน หมายถึง การจำนองอสังหาริมทรัพย์ที่มีเจ้าของรวมกันหลายคนโดยผู้เป็น เจ้าของคนหนึ่งหรือหลายคนไม่ใช่เจ้าของทั้งหมด จำนองเฉพาะส่วนของตน ส่วนของผู้เป็นเจ้าของคนอื่น ไม่ได้จำนองด้วย จำนองเฉพาะส่วน ผู้จำนองสามารถจำนองได้โดยไม่ต้องให้เจ้าของร่วมคนอื่นที่ไม่ได้จำนองด้วย ยินยอมหรือให้ถ้อยคำแต่อย่างใด

 

3.ขึ้นเงินจากจำนอง หมายถึง กรณีที่มีการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นประกันหนี้ ไว้แล้วจำนวนหนึ่ง ต่อมาคู่กรณีตกลงเพิ่มจำนวนเงินที่จำนองเป็นประกันให้สูงขึ้นจากเดิม จึงมาจดทะเบียน เพิ่มวงเงินที่จำนอง โดยมีเงื่อนไขและข้อตกลงเช่นเดียวกับสัญญาจำนองเดิม ทั้งเป็นมูลหนี้เดียวกันกับ สัญญาจำนองเดิม (หากหนี้ต่างรายกันขึ้นเงินจากจำนองไม่ได้ จะต้องจำนองอีกลำดับหนึ่ง) ในการขึ้นเงินจากจำนอง หากมีการคิดดอกเบี้ยในวงเงินที่เพิ่มขึ้นต่างไปจากสัญญาจำนองเดิมก็ ทำได้ การขึ้นเงินจากจำนองจะขึ้นกี่ครั้งก็ได้ โดยระบุจำนวนครั้งต่อท้ายประเภท เช่น “ ขึ้นเงินจาก จำนองครั้งที่หนึ่ง” เป็นต้น

 

4.ไถ่ถอนจากจำนอง หมายถึง กรณีที่ได้ชำระหนี้ที่จำนองเป็นประกันโดยสิ้นเชิงแล้ว การจำนอง จึงระงับสิ้นไปโดยผลของกฎหมาย แม้ไม่จดทะเบียนก็สามารถใช้บังคับในระหว่างกันเองได้ แต่ถ้าจะให้ ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สำหรับประเภทการจดทะเบียนอื่นๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์กรมที่ดิน

ภาพโดย
https://www.freepik.com
แบ่งปัน: