การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

ลักษณะและพฤติกรรมของ "หมูป่า"

1 กระทู้
1 ผู้ใช้
0 Reactions
294 เข้าชม
สี่แผ่นดิน
กระทู้: 22
Admin
หัวข้อเริ่มต้น
(@4land)
สมาชิก
เข้าร่วม: 4 ปี ที่ผ่านมา

หมูป่าจัดอยู่ในอันดับสัตว์กีบคู่ ซึ่งมีลักษณะเด่นที่ตีนหรือขาขาแต่ละข้างประกอบด้วยนิ้วที่ได้ดัดแปลงมาด้วยเวลาอันยาวนานจนเป็นกีบที่ใช้เดินสองอัน ส่วนอีกสองกีบด้านหลังกระเถิบยกตัวสูงขึ้นไม่สัมผัสพื้น ปรากฏเหลือเป็นติ่ง และกีบคู่นี้ไม่อยู่สูงมากเท่าสัตว์กีบคู่กลุ่มอื่นๆ เช่น กวางวัวควาย เป็นต้น (รูปร่างเพรียว ขาเล็กเรียว กีบเล็ก หน้าแหลมเล็ก หูเล็ก ตาโตสีดำ จมูกอ่อนแต่แข็งแรงมากใช้ขุดค้นหาอาหาร ขนยาวหยาบแข็งสีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำปนเทา มีขนยาวเป็นแผงบนสันคอและหลัง เป็นหมูขนาดกลางมีเขี้ยวยาวแหลมโง้งงอนขึ้นไปนอกปาก ลูกหมูป่าที่เกิดใหม่มีจุดและลายตามลำตัวคล้ายผลแตงไทย แต่เมื่อโตขึ้นลายนี้จะจางหายไป

ถิ่นอาศัย

พบในยุโรป เอเชีย แอฟริกาเหนือ อเมริกาเหนือ ประเทศไทยพบทุกภาค อาศัยอยู่ตามป่าดิบแล้งและป่า เต็งรัง ที่ราบตามไหล่เขา ตามหนองน้ำ

อาหาร 

หมูป่าเป็นสัตว์ที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ มีตั้งแต่พวกผักต่าง ๆ เผือก มัน เห็ด หน่อไม้ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง หัวเผือก มัน รากพืช ลูกไม้ สับปะรด ถั่วลิสงและหญ้าอ่อนๆ ส่วนสัตว์จำพวก แมลง ปลวก งู และหนู เวลาเจอก็กินเหมือนกัน

https://www.youtube.com/watch?v=m-Q5UYiaHw4

พฤติกรรม

มีประสาทรับกลิ่นที่ไวมาก แต่มีประสาทตาไม่ค่อยดีรวมทั้งประสาทหูไม่ดีด้วย นอกจากบางครั้งที่มันเกิดสงสัยเมื่อได้กลิ่นประสาททั้งตาและหูจะว่องไวผิดปกติจมูกจึงเป็นเสมือนเครื่องรับประกันความปลอดภัยโดยธรรมชาติ ชอบอยู่เป็นฝูง ขนาดฝูงก็มีตั้งแต่5-6 ตัวจนถึงฝูงใหญ่ขนาด 50 ตัว แต่ละฝูงประกอบด้วยหลายวัย ทั้งเพศผู้และเพศเมีย ในตัวผู้ขนาดใหญ่จะรวมฝูงเฉพาะช่วงฤดูผสมพันธุ์ แต่ช่วงปกติจะแยกตัวออกจากฝูงและอาศัยอยู่เพียงตัวเดียวที่เรียกกันว่า หมูโทน ออกหากินตอนเช้าหรือเย็น และตอนกลางคืน กลางวันมักหลบซ่อนพักผ่อนอยู่ตามพุ่มไม้ ปลักตม หรือลำธาร เวลาออกหากินจะมีเสียงเอะอะและดังมาก ซึ่งเป็นเสียงไล่กัดกัน กัดกินอาหาร แย่งกันกินอาหาร เกลือกกลิ้งเล่นกันและเสียงนี้สามารถได้ยินในระยะไกลๆ อย่างไรก็ตามถ้าหากมันเกิดความสงสัยหรือระแวงเหตุร้ายขึ้นมา หมูป่าจะกลายเป็นสัตว์ที่เงียบที่สุดได้เหมือนกัน คือทุกตัวจะยืนนิ่งและเงียบกริบ ราวกับว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต

เนื้อหา : zoothailand.org

ภาพและวีดีโอโดย : เกษตร108.com

แบ่งปัน: